สวัสดี บุคคลทั่วไป

จะไปสอบการประปานครหลวงต้องอ่านหนังสือตรงไหน ใครรู้บ้าง

  • 0 ตอบ
  • 137 อ่าน
คำแนะนำในการสอบการประปานครหลวง
การสอบการประปานครหลวง กปน. จะเปิดปีละครั้ง ข้อสอบจะยากมาก ปีหลังๆ มี requirement เพิ่มขึ้นอีก เรียกว่าคัดคนมากๆ ด้านหนังสือควรหาอ่านเอาให้มากที่สุด แบ่งเวลาอ่านเอง ในระดับปริญญาตรีและปริญญาโทจะใช้ผลคะแนนการทดสอบภาษาอังกฤษ โดย TOEIC จะต้องไม่ต่ำกว่า 500 คะแนน
นอกจากนี้ผู้เข้าสอบควรจะรู้ประวัติเกี่ยวกับการประปานครหลวงด้วย โดยศึกษาจากเว็บไซด์ของการประปาเอง ข้อสอบที่เคยออกมีเกี่ยวกับเวิร์ดเอ็กเซลล์อย่างง่าย ภาคความรู้ทั่วไปเน้นทำข้อสอบให้เยอะๆ อ่านหนังสือให้มากๆ เพราะข้อสอบจะยากมาก ยากกว่าสอบ กพ.
วิชาที่ใช้สอบ มีดังนี้ คือ
1. สอบข้อเขียน มี 3 วิชา คือ
-วิชาเฉพาะตำแหน่ง 100 คะแนน ใช้เวลา 2 ชม.
-วิชาความรู้ความสามารถทั่วไปและสารสนเทศ 50 คะแนน ใช้เวลา 1 ชม.
-Personality Test ใช้ประกอบการสอบสัมภาษณ์ 30 นาที
2. การสอบสัมภาษณ์ 50 คะแนน (เฉพาะผู้ที่สอบผ่านข้อเขียน)

ดาวน์โหลดหนังสือเตรียมสอบการประปานครหลวง ที่นี่

รายละเอียดวิชาที่สอบ
1 ความรู้เกี่ยวกับการประปานครหลวง 10
2 พระราชบัญญัติการปะปานครหลวง 13
3 แนวข้อสอบ พรบ.การประปานครหลวงและจรรยาบรรณในวิชาชีพ 15
4 แนวข้อสอบหลักธรรมมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม 8
5 ความสามารถด้านเหตุผล 18
6 ความสามารถทางด้านตัวเลข 39
7 แนวข้อสอบหลักการใช้ภาษาไทย 27
8 แนวข้อสอบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในสํานักงาน 27

คุณสมบัติของผู้สมัคร
• อายุไม่เกิน 40 ปี
• สำเร็จ ป.ตรี หรือ ป.โทกรณียังไม่ได้รับปริญญาบัตรให้ใช้หนังสือรับรองวุฒิแทนได้
• มีผลคะแนนภาษาอังกฤษ
• TOEIC ไม่น้อยกว่า 500 คะแนน (ทดสอบ Listening และ Reading) หรือ
• TOEFL แบบ Paer Based Test ไม่น้อยกว่า 477 คะแนน หรือ
• TOEFL แบบ Internet Based Test ไม่น้อยกว่า 53 คะแนน หรือ
• IELTS ไม่น้อยกว่า 4.5 คะแนน
• ทั้งนี้ ผู้ไม่มีผลคะแนนการทดสอบภาษาอังกฤษให้ไปขอเข้ารับการทดสอบการหน่วยงานที่จัดสอบ
• พ้นภาระการเกณฑ์ทหารแล้ว (กรณีเพศชาย)

จบคณะอะไรถึงจะได้ทำงานราชการประปานครหลวง
1.วิศวกร จำนวน
วุฒิ ป.ตรี วิศวกรรมศาสตร หลักสูตร 4 ปี สาขาวิศวกรรมโยธา ไฟฟ้า เครื่องกล สิ่งแวดล้อม และมีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ใบ ก.ว) ไม่ต่ำกว่าระดับภาคีวิศวกรสาขาเดียวกับสาขาที่สมัคร หรือ
ป.โท วิศวกรรมศาสตร สาขาวิศวกรรมโยธา ไฟฟ้า เครื่องกล สิ่งแวดล้อม และมีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ใบ ก.ว) ไม่ต่ำกว่าระดับภาคีวิศวกรสาขาเดียวกับสาขาที่สมัคร
หากไม่มีใบ ก.ว ในวันที่ยื่นสมัคร อนุโลมให้ใช้สำเนาใบเสร็จรับเงินขอมีใบ ก.ว. แทนได้ และต้องนำใบ ก.ว มายื่นภายใน 120 วัน นับแต่วันประกาศรายชื่อผู้ผ่านการสอบคัดเลือกได้

2.นักการตลาด
วุฒิ ป.ตรี หรือ ป.โท ทางบริหารธุรกิจ สาขาการตลาด

3.นักคอมพิวเตอร์
วุฒิ ป.ตรี หรือ ป.โท ทางวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือศาสตร์คอมพิวเตอร์ หรือ ป.ตรี หรือ ป.โท วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

4.นักทรัพยากรบุคคล/บุคลากร
4.1 นักทรัพยากรบุคคล
วุฒิ ป.ตรี หรือ ป.โท ทางบริหารทรัพยากรมนุษย์ บริหารรัฐกิจ รัฐประศาสนศาสตร์ จิตวิทยาองค์กร หรือจิตวิทยาอุตสาหกรรม
4.2 บุคคลากร
วุฒิ ป.โท ด้านบริหารธุรกิจ (หากสำเร็จการศึกษา วุฒิ ป.ตรี ทางวิศวกรรมศาสตร์ จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ)

5.นักบริหารงาน
วุฒิ ป.ตรี หรือ ป.โท ทางบริหารธุรกิจ ด้านบริหารธุรกิจ การจัดการทั่วไป คอมพิวเตอร์ธุรกิจ บริหารธุรกิจระหว่างประเทศ บริหารรัฐกิจ หรือรัฐประศาสนศาสตร์

6.นักบัญชี จำนวน
วุฒิ ป.ตรี หรือ ป.โท ทางการบัญชี
วุฒิ ป.ตรี หรือ ป.โท ทางนิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ สื่อสารมวลชน สาขาวิทยุโทรทัศน์ หรือ ภาพยนต์และภาพถ่าย

7.นักวิชาการการเงินการคลัง
วุฒิ ป.ตรี หรือ ป.โท ทางบริหารธุรกิจ สาขาการเงิน การธนาคาร หรือทางเศรษฐศาสตร์ สาขาเศรษฐศาสตร์ การเงิน การคลัง

8.นักวิทยาศาสตร์
วุฒิ ป.ตรี หรือ ป.โท ทางวิทยาศาสตร์ สาขาเคมี ชีววิทยา วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

9.นิติกร
วุฒิ ป.ตรี หรือ ป.โท ทางกฎหมาย และมีใบอนุญาตให้เป็นทนายความของสภาทนายความแห่งประเทศไทย

10.ผู้ตรวจสอบ

วุฒิ ป.ตรี หรือ ป.โท ทางการบัญชี การตรวจสอบภายใน การกำกับดูแลกิจการ (หากมีใบอนุญาตทางวิชาชีพ CIA CISA CPA CCSA จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ)

11.นักประชาสัมพันธ์ (ขึ้นบัญชีสำรองเพื่อรอการเรียกบรรจุ)
11.1 นักประชาสัมพันธ์ (ด้านการออกแบบนิเทศศิลป์)
วุฒิ ป.ตรี หรือ ป.โท ทางการออกแบบนิเทศศิลป์ การออกแบบการสื่อสาร หรือการออกแบบกราฟฟิก
11.2 นักประชาสัมพันธ์ (ด้านโสตทัศนูปกรณ์)
วุฒิ ป.ตรี หรือ ป.โท ทางนิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ สื่อสารมวลชน สาขาวิทยุโทรทัศน์ หรือ ภาพยนต์และภาพถ่าย

12.วิศกร (โทรคมนาคม) (ขึ้นบัญชีสำรองเพื่อรอการเรียกบรรจุ)
วุฒิ ป.ตรี หรือ ป.โท วิศวกรรม สาขาโทรคมนาคม

13.นักเทคโนโลยีสารสนเทศ (ขึ้นบัญชีสำรองเพื่อรอการเรียกบรรจุ)
วุฒิ ป.ตรี หรือ ป.โท สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือสาขาอื่นที่ศึกษาทางด้านคอมพิวเตอร์หรือสารสนเทศไม่น้อยกว่า 16 หน่วยกิต และผ่านหลักสูตรวิชาพื้นฐานไม่น้อยกว่า 6 วิชาพื้นฐาน

เงินเดือน
ป.ตรี วิศวกรรมฯ 17,830 บาท
ป.ตรี วุฒิอื่นๆ 16,830 บาท
ป.โท วิศวกรรม 22,580 บาท
ป.โท วุฒิอื่นๆ 20,030 บาท


แหล่งข้อมูลจาก https://www.sheetjula.com/
สั่งซื้อหนังสือสอบราชการที่ https://www.rtamd.co.th/


>รวบรวมจากผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ <<
>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<