สวัสดี บุคคลทั่วไป

ใครไปสอบสำนักงานสถิติแห่งชาติ มาบ้างคะ ??? เล่าให้ฟังหน่อย

  • 0 ตอบ
  • 147 อ่าน
คำแนะนำในการสอบสำนักงานสถิติแห่งชาติ
สำนักงานสถิติแห่งชาติ (National Statistical Office) เป็นหน่วยงานของรัฐบาลไทย ระดับกรม สังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มีภารกิจในฐานะเป็นหน่วยงานกลางของรัฐ ในการดำเนินการเกี่ยวกับสถิติตามหลักวิชาการ และจัดทำสถิติเพื่อติดตามประเมินผลและสนับสนุนการดำเนินการตามนโยบายและแผนงานของรัฐ
ในการสอบเข้าสำนักงานสถิติแห่งชาติ การสอบบรรจุเข้ารับราชการผู้เข้าสอบจะต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของสำนักงาน ก.พ.  ก่อน 
แต่ถ้าสอบเป็นพนักงานราชการหรือลูกจ้างไม่ต้องใช้ใบสอบผ่านภาค  ก ของ ก.พ.

ดาวน์โหลดหนังสือเตรียมสอบสำนักงานสถิติแห่งชาติที่นี่

การเตรียมตัวสอบสำนักงานสถิติแห่งชาติ
ในส่วนการสอบภาค  ข. ควรอ่านวิชาเฉพาะตำแหน่งให้มากๆ ศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาตำแหน่งให้ดี ข้อสอบจะเป็นระเบียบข้อกฏหมาย วิชากฎหมายก็อ่านฉบับเต็ม 
ท่องให้ได้ทุกมาตราอย่าไปอ่านเเต่ช้อย มันไม่ตรงนัก  ฝึกลองวิเคราะห์ข้อสอบ หาปากกาเน้นข้อความมาขีดเพื่อจำง่าย แล้วสรุป หรือท่องให้ได้  ฝึกทำข้อสอบเก่า 
โดยเฉพาะในเรื่องที่เป็นจุดบกพร่องของเราทำซ้ำๆจนเข้าใจ
ควรอ่านเนื้อหาที่จะออกสอบในประกาศ และดูเวลาว่าเหลือเวลากี่วันที่จะต้องสอบ และนำเนื้อหาการสอบมาทำความเข้าใจว่าแต่ละเรื่องเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง 
ค้นหาเนื้อหาแต่ละเนื้อหารวบรวมทุกสิ่งอย่างที่คิดว่าเกี่ยวข้องและจำเป็น แล้วแยกใส่ในแฟ้มงานเป็นหมวดๆ เมื่อได้เนื้อหาครบหมดแล้ววิเคราะห์ว่าแต่ละเนื้อหาใช้เวลาในการอ่านเท่าไหร่
แล้วนำผลรวมออกมาเทียบกับเวลาที่เรามีในการเตรียมตัวสอบ จากนั้นนำเวลามาถัวเฉลี่ย ให้ความหนักเบากับวิชาที่จะสอบ ว่าวิชาไหนเรื่องไหนใช้เวลาเท่าไหร่
แล้วจัดทำตารางการอ่านหนังสือเป็นช่วงเวลาอาจจะแบ่งเป็นต่อสัปดาห์ หรือ 2 สัปดาห์ แล้วนำมาแปะไว้ที่ไหนก็ได้ที่เราสังเกตเห็นได้ชัด  ในการอ่านแต่ละวิชาควรอ่านอย่างน้อย 2 รอบ รอบแรกเป็นการอ่านรวมๆ
เพื่อหาว่าจุดไหนสำคัญบ้างให้นำปากกาเน้นคำ Mark ไว้ รอบที่สอง จดบันทึกสิ่งที่เรา Mark ไว้ สรุปเป็นภาษาของเราเองเพื่อเอาไว้อ่านก่อนสอบ 1 วัน  และก่อนนอนนั่งสมาธิอย่างน้อย 5 นาที สวดมนต์ด้วยก็ยิ่งดี   
นอกจากนี้ควรศึกษาเส้นทางการสอบ ห้องสอบให้ดี พอถึงสนามสอบให้ตรวจดูห้องสอบหรือนั่งหน้าห้องสอบรอเลยก็ได้ เพื่อป้องกันความกังวลใจ หรือเรื่องรบกวนใจ 
เมื่อใกล้จะสอบควรงดการพูดจาเรื่อยเปื่อย คุยสนุกเรื่องอื่น กับเพื่อนที่ร่วมสอบ หรือใครก็ตามอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อป้องกันสมองไปจำอย่างอื่น ให้คิดแต่เรื่องสอบอย่างเดียว
นอกจากนี้ควรหาความรู้เกี่ยวกับหน่วยงานด้วย  เช่น ประวัติ วิสัยทัศน์  พันธกิจ ค่านิยม ผู้บริหาร หน้าที่ความรับผิดชอบ  โดยการหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต  และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ สังคม   
นอกจากวิชาการที่ต้องใช้ตามวุฒิที่จะรับแล้ว ยังต้องทำการบ้านด้วยว่าหน่วยงานนั้นมีการแบ่งองค์กรยังไง ผู้บริหารเป็นใครในแต่ละระดับ แต่ละส่วนขององค์กรทำงานอะไร มีหน้าที่อะไร
ตำแหน่งที่เราจะบรรจุมีหน้าที่อะไร ไปที่หน่วยงานนั้น ถ้ามีห้องสมุดหรือเอกสารเผยแพร่ควรไปอ่านให้หมด ปัจจุบันมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานหรือตำแหน่งที่จะทำหรือไม่ อย่างไร
ส่วนในการสอบสัมภาษณ์เป็นการสอบด้วยการสนทนาหรือพูดคุยกัน ดังนั้นผู้เข้าสอบควรจะทบทวนเตรียมความรู้หรือข้อมูลในส่วนที่เป็นวิชาการหรือเนื้อหาต่าง ๆ   ที่ได้เตรียมไว้แล้วในการเตรียมตัวเข้าสอบข้อเขียน   
ซึ่งอาจจะใช้เวลาครั้งละ 10 – 30 นาที   แล้วแต่กรณี หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การเตรียมตัวเข้ารับการสอบสัมภาษณ์จำเป็นต้องทบทวนความรู้ และข้อมูลบางประการมิใช่เข้าสอบโดยมิได้ทบทวนความรู้หรือข้อมูลอะไรเลย 
ในการสัมภาษณ์ควรทำใจให้สบาย ตอบคำถามแบบธรรมขาติ เป็นตัวของตัวเอง  โดยส่วนใหญ่กรรมการจะถามคำถามต่อไปนี้ คือ 1. ให้แนะนำตัวเอง   2.เหตุผลในการตัดสินใจเข้ารับราชการ   3. เล่าถึงประสบการณ์ในการทำงาน
การสอบสัมภาษณ์ สำหรับผู้ชายควรโกนหนวดเคราให้เรียบร้อย ผู้หญิงเสื้อผ้าหน้าผมต้องเยี่ยม แนะนำให้สวมสูทด้วยจะดูดีมีระดับ แต่ไม่ควรแต่งหน้าแบบงานรับปริญญาเป็นเจ้าป้าโดยเด็ดขาด  คำถามที่จะโดนถาม ส่วนใหญ่จะเป็นประมาณ
ตำแหน่งนี้ทำหน้าที่อะไร ความรู้เกี่ยวกับตำแหน่ง ความรู้เกี่ยวกับกรมฯ ประวัติส่วนตัว ประวัติการทำงาน รอบแห่งการสอบภาค ค. หรือรอบความเหมาะสมกับตำแหน่ง เป็นรอบที่ต้อง อาศัยกำลังภายใน รอบนี้ต่างหาก ที่ต้องระมัดระวังบรรดา เด็กเส้น เด็กฝากทั้งหลาย

วิชาที่ใช้สอบสำนักงานสถิติแห่งชาติ   มีดังนี้คือ  (ไม่ต้องใช้ใบ  ก.พ.)
การประเมินครั้งที่  1  โดยวิธีสอบข้อเขียน   (100  คะแนน)  สัดส่วนการประเมินร้อยละ 90
- ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (ข้อเขียนเป็นอัตนัย) ตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ
- ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาล
- ระเบียบวิธีสถิติ
- พระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ.2550
- ความรู้เกี่ยวกับหน่วยงาน
- เรื่องเกี่ยวกับพนักงานราชการ
การประเมินครั้งที่  2  โดยการสอบสัมภาษณ์  (100  คะแนน)  สัดส่วนการประเมินร้อยละ 10
ทั้งนี้ผู้ที่สอบผ่านจะต้องได้คะแนนในการสอบและสัมภาษณ์ รวมกันแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ  60
 
วิชาที่ใช้สอบสำนักงานสถิติแห่งชาติ   มีดังนี้คือ
1. ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง  ( 200  คะแนน ) 
2. การสอบสัมภาษณ์   ( 100  คะแนน )  เป็นการทดสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตําแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้งโดยวิธีการสัมภาษณ์หรือวิธีอื่นเพื่อประเมินความเหมาะสมกับตําแหน่งจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา  ประวัติการทํางานประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติการปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน สังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ บุคลิกภาพและพฤติกรรมของผู้สอบแข่งขันเพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะ และอื่นๆ ที่จําเป็นสําหรับตําแหน่ง
ทั้งนี้ กําหนดให้ผู้สมัครสอบ ต้องสอบความรู้ความสามารถเฉพาะตําแหน่งก่อนผ่านก่อน โดยมีคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ  60  จึงจะมีสิทธิเข้าสอบภาคความเหมาะสมกับตําแหน่ง


ดาวน์โหลดหนังสือเตรียมสอบสำนักงานสถิติแห่งชาติที่นี่
รายละเอียดวิชาที่สอบสำนักงานสถิติแห่งชาติ
นักวิชาการสถิติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ
1 ความรู้เกี่ยวกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ
2 การจัดทำ การวิเคราะห์ข้อมูล และการนำเสนอข้อมูล
3 พระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ.2550
4 แนวข้อสอบพระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ.2550
5 แนวข้อสอบคำนวณสถิติเบื้องต้น
6 ความรู้เบื้องต้นทางสถิติ (Introduction of Statistical)
7 การใช้สถิติเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล
8 การวางแผนงาน โครงการและการติดตามประเมินผล
9 วิธีที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
10 แนวข้อสอบความรู้การปฎิบัติงานด้านสถิติ
11 การเตรียมตัวสอบภาค ค. สำนักงานสถิติแห่งชาติ

ตำแหน่งที่สอบสำนักงานสถิติแห่งชาติ
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
นักวิชาการสถิติ
พนักงานสถิติ

ลักษณะงานสำนักงานสถิติแห่งชาติ
(1) ปฏิบัติงานเก็บรวบรวมข้อมูลโครงการสำมะโน/สำรวจ ตามแผนปฏิบัติงานประจำปีของสำนักงานสถิติแห่งชาติ
(2) ตรวจสอบความครบถ้วน ถูกต้อง และแนบนัยของข้อมูลในแบบสำมะโน/สำรวจ
(3) ปฏิบัติงานบันทึกข้อมูล ประมวลผลข้อมูลสถิติ และวิเคราะห์ตารางสถิติโครงการต่างๆ
(4) ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(5) รับ – ส่ง งานในระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ งานธุรการและพิมพ์หนังสือราชการ รวมทั้งบันทึกอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
(6) ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา

แหล่งข้อมูลจาก https://www.sheetjula.com/
สั่งซื้อหนังสือสอบราชการที่ https://www.rtamd.co.th/


>รวบรวมจากผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ <<
>> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<